Penguin Grumpy Mad Kawaii

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

วันอังคาร ที่17 มกราคม พ.ศ. 2560


ความรู้ที่ได้รับ

ธรรมชาติและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
วัยเด็กควรได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่ควรให้ความสนใจและให้ความสำคัญ เป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดในการวางรากฐานของชีวิตมนุษย์

ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
1. ยึดตนเองเป็นศูนยกลาง
2. เด็กแต่ละคนมีความสามารถแตกต่างกัน
3. ต้องการเป็นที่ยอมรับ
4. ช่วงความสนใจสั้น
5. ชอบอิสระ
การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย 
1. เรียนรู้จากประสบการณ์ทางตรง -การพบเห็นได้ด้วยตนเอง สะสมเป็นประสบการณ์
2. เรียนรู้จากประสบการณ์ทางอ้อม -การเลียนแบบหรือได้รับฟังคำบอกเล่า
ธรรมชาติของการเรียนรู้ 
1.มีสิ่งเร้า(สื่อ)มากระตุ้นผู้เรียน
2.ผู้เรียนรับรู้สิ่งเร้า โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
3.ผู้เรียนสามารถเล่าเรื่อง และตอบโต้ได้
4.ผู้เรียนมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าและสามารถเล่าเรื่องได้
5.ผู้เรียนสังเกตผลที่เกิดขึ้น
การจำแนกลักษณะการเรียนรู้ของเด็ก
ลักษณะที่ 1 การเรียนรู้โดยสัญชาตญาณ
ลักษณะที่ 2 การเรียนรู้จากการช่วยเหลือของพ่อแม่
ลักษณะที่ 3 การเรียนรู้จากเกมการศึกษา
รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
1. การเรียนรู้โดยใช้ความสามารถในการใช้สายตา 
2. การเรียนรู้โดยการได้ยินได้ฟัง
3. การเรียนรู้โดยการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย
ทักษะการเรียนรู้ของเด็ก
อายุ 2-3 ปี - ใช้คำง่ายๆ
                 - รู้ขนาดใหญ่-เล็ก
                 - เลียนแบบงานของผู้ใหญ่
                 - สนใจอะไรในระยะสั้นๆ
                 - จับคู่สิ่งของได้
อายุ 3-4 ปี - จับคู่สีเหมือนได้มากกว่า 3 สี
                 - เปรียบเทียบขนาด เล็ก กลาง ใหญ่ได้
                 - วาดภาพอย่างมีความหมาย
                 - บอกชื่อ-นามสกุลได้
                 - ชอบซักถามว่า "ทำไม"
                 - เริ่มเข้าใจความหมายของเวลา
อายุ 4-5 ปี - พูดตามเป็นคำสัมผัส
                 - มีช่วงความสนใจยาวขึ้น
                 - จับคู่สิ่งของที่ใช้ด้วยกันได้
                 - วาดภาพและบอกชื่อภาพได้
                 - บอกชื่อสถานที่บ้านที่ตนเองอยู่ได้
อายุ 5-6 ปี - เล่าทวนเรื่องที่ได้ยินให้ฟังได้
                 - จัดประเภทของสิ่งของที่มีคุณลักษณะต่างกันได้
                 - มีความสนใจเพิ่มมากขึ้น อดทนเมื่ออยากรู้จริงๆ
                 - รู้จักความหมายของการบอกเวลาได้ถูกต้อง

แนวคิดการเรียนรู้
 ทฤษฎีของ Bloom ในระดับปฐมวัยแบ่งเป็น 3 ระดับ 
1. ความจำ (Knowledge)
2. การประยุกต์ (Application)
3. ความเข้าใจ (Comprehend)
ทฤษฎีของ Mayor การออกแบบสื่อการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
1. ชี้ชัดและสังเกตได้
2. มีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ
3. อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด

ทฤษฎีของ Bruner 1. ความรู้หล่อหลอมด้วยประสบการณ์
                              2. ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
                              3. ผู้เรียนสามารถบอกเล่าได้
                              4. ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
                              5. ผู้เรียนเลือเนื้อหาและกิจกรรมเอง                         
ทฤษฎีของ Tylor    1. ความต่อเนื่อง (continuity)
                             2. การจัดช่วงลำดับ (sequence)
                             3. บูรณาการ (integration)
ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ (GAGNE) 
1. การจูงใจ (Motivation Phase)
2. การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase)
3. การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ ( Acquisition Phase)
4. ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
5. ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase)
6. การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
7. การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase)
8. การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน (Feedback Phase)
พัฒนาการของเด็กปฐมวัย
ความหมายของพัฒนาการ
ความสามารถเด็กที่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นขั้นตอนโดยมีอายุเป็นตัวกำกับ
ลักษณะของพัฒนาการ
              • พัฒนาการเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน
              • การพัฒนาจะมีทิศทางของพัฒนาการที่แน่นอน
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย
  •         บุคคลภายในครอบครัว บุคคลภายในครอบครัว ประกอบด้วย พ่อแม่ ญาติพี่น้อง
  •         บุคคลภายนอกครอบครัว บุคคลภายนอกครอบครัว ประกอบด้วย ครู ผู้ดูแลเด็ก
  •         อาหารครบ 5 หมู่
  •         สติปัญญา
  •         โรคภัยไข้เจ็บ
คุณลักษณะตามวัยของเด็ก


การจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
1. กิจกรรมที่จัดควรคำนึงถึงตัวเด็กเป็นสำคัญ
2. กิจกรรมที่จัดควรมีทั้งกิจกรรมที่ให้เด็กทำเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่
3. กิจกรรมที่จัดควรมีความสมดุล
4. ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมควรเหมาะสมกับวัย
5. กิจกรรมที่จัดควรเน้นให้มีสื่อของจริงให้เด็กได้มีโอกาสสังเกต
ลักษณะการจัดกิจกรรมผ่านการเล่น
  •       กิจกรรมเสรี เปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นตามมุม
  •         กิจกรรมสร้างสรรค์ ให้เด็กได้แสดงความรู้สึก ความคิดสร้างสรรค์ผ่านศิลปะ
  •         กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
  •         กิจกรรมเสริมประสบการณ์ มุ่งเน้นทักษะกรเรียนรู้ฝึกการทำงานร่วมกัน กิจกรรมที่มี                 โอกาสให้เด็กได้ฝึกคิด พูด สังเกต ฟัง แก้ปัญหาโดยใช้เหตุผลและฝึกปฏิบัติ
  •         กิจกรรมกลางแจ้ง เด็กได้ออกกำลังกายได้เคลื่อนไหวร่างกายและแสดงออกย่างอิสระ
  •         เกมการศึกษา ช่วยพัฒนาสติปัญญา มีกฎเกณฑ์กติกา
การจัดกิจกรรมการเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย
      - พฤติกรรมการเล่นของเด็กวัย 0 – 1 ปี เด็กจะเริ่มพัฒนาประสาทสัมผัสการมองเห็นและได้ยิน ของเล่นที่สดใสที่แกว่งไกวแล้วมีเสียงกรุ๋งกริ๋งช่วยให้เด็กกรอกสายตา ฝึกการมองเห็นและการฟังได้สังเกตความเคลื่อนไหว
      - พฤติกรรมการเล่นของเด็กวัย 1 - 2 ปี เด็กวัยนี้เริ่มเดินได้เองบ้าง ชอบเกาะเครื่องเรือนเดินจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ฝึกการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อต่าง ๆ
      - กิจกรรมการเล่นและของเล่นสำหรับเด็กวัย 2 - 4 ปี เด็กวัยนี้จะเรียนรู้จากการสังเกต เลียนแบบและชอบซักถาม
      - กิจกรรมการเล่นและของเล่นสำหรับเด็กวัย 4 - 6 ปี เด็กวัยนี้จะเรียนรู้จากการใช้ภาษาสื่อความหมายความเข้าใจกับผู้อื่น และการใช้เหตุผลในการทำความเข้าใจกับสิ่งต่างๆ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น